วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 01, 2559

บล็อก บล็อก บล็อก... ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ and I





ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ and I


ที่มา FB ประชาไท

หลังจากเขียนแล้วแก้ แก้ในแก้กันอยู่หลายเวอร์ชั่น ล่าสุด มีการเผยแพร่ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 18 พ.ย.ออกมา (https://ictlawcenter.etda.or.th/files/files/CC-bill.pdf) พร้อมกับมีการจัดเวทีรับฟังความเห็นที่รัฐสภาไปเมื่อวันที่ 23 พ.ย. -- เรายังไม่รู้ว่าความเห็นและคำถามในวันนั้นจะส่งผลต่อร่างกฎหมายนี้แค่ไหน แต่เอาเป็นว่านี่คือเนื้อหาจากร่างล่าสุดเท่าที่เรามี





มาตรา 14(1) มักถูกนำมาฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ แม้ว่าเจตนารมณ์ของมาตรานี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับการปลอมแปลงเอกสารและฉ้อโกงออนไลน์

กมธ.ที่ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ เองก็เคยบอกว่าเห็นปัญหาของมาตรานี้

แต่ในร่างปัจจุบัน ก็ไม่มีการแก้เนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น

อ่านที่ http://prachatai.org/journal/2016/11/68958



มีความกังวลว่า ข้อความที่เพิ่มเข้ามา อาจทำให้มีการใช้มาตรา 14(2) ฟ้องเอาผิดกับผู้ที่วิจารณ์นโยบายสาธารณะ หรือตรวจสอบคอร์รัปชัน

http://prachatai.org/journal/2016/11/68977



มาตรา 15 เรื่องความรับผิดของตัวกลางหรือผู้ให้บริการ เป็นอีกประเด็นที่ได้รับความสนใจมาก เพราะกำหนดโทษของผู้ให้บริการ (ซึ่งกินความกว้างตั้งแต่ ISP, เจ้าของเว็บ ยันคนปล่อยสัญญาณไวไฟ) มีโทษเท่ากับคนโพสต์ตามมาตรา 14

มีการแก้ไขว่า ถ้าเอาออกตามที่มีคนแจ้งเตือนแล้วก็ไม่ผิด แต่ขั้นตอนก็ยังกว้างมาก เปิดให้ใครก็แจ้งเตือนได้ แถมต้องลบในสามวัน เสี่ยงเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง

รายงานเสวนา: เสรีภาพออนไลน์ใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
http://prachatai.org/journal/2016/07/66655

ตัวกลาง
http://prachatai.org/category/ตัวกลาง







มาตรา 16/2 กำหนดให้ใครก็ตามที่มีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ศาลสั่งให้เป็นความผิดตามมาตรา 14 (นำเข้าข้อมูลเท็จ) และมาตรา 16 (ตัดต่อภาพ-ภาพคนตาย) และให้ทำลาย ในครอบครอง จะต้องทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดครึ่งหนึ่งของผู้โพสต์

คำถามคือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลเหล่านั้นผิดตามมาตรา 14 หรือ 16 แล้วศาลสั่งให้ทำลาย

ภาระในการรู้ ค้นคำพิพากษา หรือพิสูจน์ว่าเราไม่รู้เป็นของใคร

แล้วจะกระทบกับคนที่ต้องทำงานกับข้อมูล อย่าง สื่อ นักวิจัย หรือห้องสมุดหรือไม่ ข้อมูลที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จะถูกทำให้หายไป?

http://prachatai.org/journal/2016/11/68977



มาตรา 20 นอกจากจะเป็นการยื่นบล็อคจากรัฐฝ่ายเดียวและบล็อคเนื้อหาได้กว้างขวางแล้ว ยังขาดกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย

มาตรา 20
http://prachatai.com/category/มาตรา-20








นอกจากการบล็อคตามมาตรา 20 แล้ว ในร่างใหม่ยังเพิ่มมาตรา 20/1 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง 5 คน มาทำหน้าที่ขอให้ศาลมีคำสั่งบล็อคข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่ดันขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีอีกด้วย

การเขียนเช่นนี้ กว้างเกินไปหรือเปล่า?

http://prachatai.com/node/68977




มาตรา 20 นอกจากจะเป็นการยื่นบล็อคจากรัฐฝ่ายเดียวและบล็อคเนื้อหาได้กว้างขวางแล้ว ยังขาดกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย

ในร่างประกาศฯ ที่เกี่ยวข้อง ระบุให้กระทรวงดิจิทัลตั้งศูนย์ เพื่อระงับหรือลบได้เอง โดยหากผู้ให้บริการยินยอม ศูนย์ตามร่างประกาศข้อ 4 จะเชื่อมโยงตรงกับผู้ให้บริการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระงับหรือลบข้อมูลในระบบของผู้ให้บริการได้เอง

มาตรา 20
http://prachatai.com/category/มาตรา-20

https://ictlawcenter.etda.or.th/files/files/Draft-Noti-section-20-Web-Blocking.pdf







ติดตามอ่านข่าวเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งหมดได้ที่ http://prachatai.org/category/พรบคอมพิวเตอร์