วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

เปิดเอกสารลับ แบงก์ชาติ ขวาง “เงินดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท เต็มสูบ


23 เม.ย. 2567
ฐานเศรษฐกิจ

Key Points
  • เปิดเอกสารลับ “แบงก์ชาติ” เสนอครม. ขวางโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ของรัฐบาล เตือนกระทบภาระการคลังระยะยาว
  • ธปท.หวั่นโครงการใช้เงินมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ มีงบประมาณตุนไว้ไม่เพียงพอรองรับภาวะฉุกเฉิน
  • เงินดิจิทัลวอลเล็ต ต้องมีงบประมาณรองรับเต็มจำนวน มีแหล่งที่มาของเงินที่เจาะจงชัดเจนในวันเริ่มโครงการ ถ้าไม่มีเสี่ยงขัดพ.ร.บ.เงินตรา
  • แนะควรแจกให้กลุ่มเฉพาะ ทำโครงการที่เห็นผลคุ้มค่า เช่น เรียนฟรี สร้างรถไฟ แนะใช้พร้อมเพย์ ลดความซ้ำซ้อน ลดต้นทุนพัฒนาระบบ
จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เมษายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการกรอบหลักการ โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ พร้อมทั้งรับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ โดยคณะทำงานรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วน เสนอมานั้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า ในรายละเอียดของข้อเสนอต่อการดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็น 10,000 บาทครั้งนี้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอเป็นความเห็นประกอบการพิจารณาในครม. โดยมีเนื้อหายาวกว่า 5 หน้า ระบุว่า

ด้วยโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ใช้งบประมาณจำนวนมาก และก่อให้เกิดภาระผูกพันต่อรัฐบาลในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้ครม. ได้รับข้อมูลและความเห็นที่ครบถ้วนประกอบการพิจารณานโยบายสำคัญนี้

ธปท. จึงขอเสนอความเห็น และข้อสังเกตสำคัญที่ได้เคยแจ้งต่อคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet รวมถึง ข้อห่วงใยอื่น ดังนี้



1. ความจำเป็นในการดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ

1.1 ควรทำโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ในขอบเขตที่ครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น (targeted) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง

โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 15 ล้านคน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณ 150,000 ล้านบาท เนื่องจากคนกลุ่มรายได้น้อยมีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสูงกว่ากลุ่ม รายได้อื่น และมักซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่าสินค้านำเข้า และควรพิจารณาดำเนินโครงการแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลังด้วย

ทั้งนี้ ความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคในวงกว้างมีไม่มาก โดยในปี 2566 การบริโภคภาคเอกชนของไทยขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.1 เทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงปี 2553 - 2565 ที่ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ต่อปี

1.2 โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ก่อให้เกิดภาระทางการคลังจำนวนมากในระยะยาว และหากไม่สามารถรักษาเสถียรภาพภาระหนี้ภาครัฐได้ จะเพิ่มความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ เช่น เกณฑ์การประเมินของ Moody's ได้กำหนดอัตราส่วนภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้ของประเทศในกลุ่ม Baal (Rating ของไทยในปัจจุบัน) ไว้ว่าไม่ควรเกินร้อยละ 11

โดยโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จะทำให้อัตราส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มสูงกว่าเกณฑ์นี้ ในปี 2568 ซึ่งหากไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมภาครัฐและภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภาพรวม

1.3 การดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่ใช้วงเงินงบประมาณมูลค่าสูงทำให้ความสามารถในการดำเนินนโยบายการคลังอื่นของรัฐบาลลดลง และมีความเสี่ยงที่จะมีงบประมาณไม่เพียงพอรองรับในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งการเพิ่มวงเงินกู้ปีงบประมาณ 2568 จนเกือบเต็มกรอบที่กฎหมายกำหนด ทำให้เหลือวงเงินกู้ได้อีกราว 5,000 ล้านบาท เทียบกับวงเงินคงเหลือเฉลี่ยในปีก่อน ๆ ที่มากกว่า 100,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ การจัดสรรวงเงินจากงบประมาณปี 2567 ทำให้งบกลางสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นลดลงจนอาจไม่เพียงพอรองรับกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การเมืองโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงและภาวะภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น

1.4 รัฐบาลควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการนำงบประมาณ 500,000 ล้านบาท ไปใช้ลงทุนในโครงการที่จะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ตัวอย่างการใช้งบประมาณที่ผ่านมา ได้แก่ 
  • โครงการพัฒนาบุคลากรการแพทย์ (ใช้วงเงิน เฉลี่ย 3.8 ล้านบาทต่อตำแหน่ง) จะสามารถสร้างบุคลากรการแพทย์ได้กว่า 130,000 ตำแหน่ง
  • โครงการ เรียนฟรี 15 ปี สำหรับนักเรียนทั่วประเทศ (83,000 ล้านบาทต่อปี) จะสามารถสนับสนุนได้นานถึง 6 ปี
  • โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม - ชุมพร (40,000 ล้านบาทต่อสาย) จะพัฒนาได้กว่า 10 สาย
  • โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (190,000 ล้านบาทต่อสาย) จะพัฒนาได้กว่า 2 สาย
2. แหล่งเงินสำหรับดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ตามที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณเสนอวงเงินดำเนินโครงการรวม 500,000 ล้านบาท ซึ่งมีที่มาจากงบประมาณรายจ่ายต่างปีและต่างประเภท และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากการมอบหมาย ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินโครงการโดยรัฐบาลจะรับภาระชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

การใช้เงินงบประมาณจากแหล่ง ต่าง ๆ จะต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยง ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน

2.1 สิทธิการใช้จ่ายภายใต้โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จะต้องไม่ขัดแย้งกับการควบคุมระบบเงินตรา โดยมูลค่าสิทธิใช้จ่ายที่รัฐบาลกำหนดขึ้น จะต้องมีงบประมาณรองรับเต็มจำนวน (fully earmarked) และมีแหล่งที่มาของเงินที่เจาะจงชัดเจนในวันเริ่มโครงการ

โดยหากรัฐบาลยังไม่สามารถ earmark งบประมาณเต็มมูลค่าสิทธิรวมในวันเริ่มโครงการด้วยเหตุใด ๆ เช่น ไม่สามารถนำเงินงบประมาณส่วนใดมาใช้ได้ตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือมีความล่าช้าในการพิจารณาอนุมัติ จะมีผลให้การกำหนดสิทธิใช้จ่ายในส่วนที่ไม่มีงบประมาณรองรับเป็นการสร้างวัตถุหรือเครื่องหมายแทนเงินตรา ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501

2.2 การให้ ธ.ก.ส. ร่วมสนับสนุนการดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร ควรมีความชัดเจนทางกฎหมายว่าการดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้หน้าที่และอำนาจ และอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. ตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ประกอบกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ จะต้องกำหนดกลไกการเติมเงินให้เกษตรกรแยกส่วนจากการเติมเงินให้ประชาชนทั่วไปอย่างชัดเจน ทั้งอาจต้องจำกัดขอบเขตการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณผิดประเภท

ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความถูกต้อง และรอบคอบ จึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลังหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน ดังเช่นที่ได้เคยหารือในประเด็นกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารออมสิน ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 แล้ว

ธปท. ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลความเสี่ยงและฐานะของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีข้อกังวลว่า การที่รัฐบาลจะมอบหมายให้ ธ.ก.ส. สนับสนุนโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยยังมีภาระหนี้คงค้างกับ ธ.ก.ส. ถึงประมาณ 800,000 ล้านบาท
อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยง ต่อฐานะการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินการตามพันธกิจ และกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงิน

จึงควรมีแนวทางชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ให้แก่ ธ.ก.ส. พร้อมทั้ง รับฟังความเห็นของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ก่อนด้วย



3. ผู้พัฒนาและดำเนินการระบบสำหรับโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ด้วยระบบสำหรับโครงการ DW มีความซับซ้อนและต้องรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก จึงต้องเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ มีความเสถียร และมีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) ธปท. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลเสถียรภาพระบบการชำระเงินของ ประเทศ มีข้อห่วงใยในการพัฒนาและดำเนินการระบบ ดังนี้

3.1 ควรใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ระบบพร้อมเพย์ และ Thai QR Payment เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ลดต้นทุนในการพัฒนาระบบ และใช้ประโยชน์สูงสุด จากโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่มีอยู่

3.2 ด้วยเงื่อนไขของการใช้สิทธิที่มีความซับซ้อนในหลายมิติ รวมทั้งการที่ระบบจะมี ลักษณะเป็นระบบเปิด (Open-loop) ที่ต้องเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการที่หลากหลาย จึงควรต้องกำหนดโครงสร้าง และสถาปัตยกรรมของระบบที่ชัดเจน ตลอดจนวางแผนการพัฒนาและทดสอบที่รัดกุมครบถ้วน

เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ อันจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการชำระเงินของประเทศ ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของระบบและข้อมูล ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและ ข้อมูลความต่อเนื่องของการให้บริการ การจัดการการเข้าถึงข้อมูลธุรกรรม และการป้องกันภัยไซเบอร์ที่เข้มงวด รวมทั้งมีกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานตามระดับความเสี่ยงของภาคการเงินด้วย

3.3 ผู้พัฒนาระบบ (Developer) ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบการชำระเงินเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการพัฒนาระบบที่เป็น Open-loop เพื่อให้ระบบสอดคล้องกับมาตรฐานข้างต้นและดำเนินการได้ตามกรอบเวลาที่จำกัด ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ผ่านมา ทีมงานของธนาคารพาณิชย์ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบการชำระเงินเป็นจำนวนมากและใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี

3.4 ผู้ดำเนินการระบบ (Operator) ต้องสามารถดูแลระบบที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก และสามารถดูแลแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้การใช้จ่ายของประชาชนมีความติดขัด หรือเกิดการใช้จ่ายที่ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขของโครงการ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องมีการยกเลิกธุรกรรมและเรียกคืนสิทธิจากประชาชนและร้านค้าจำนวนมาก และในกรณีที่มีการโจมตีทางไซเบอร์หรือมีการรั่วไหลของข้อมูลธุรกรรมหรือข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องสามารถหยุดยั้งและแก้ไขเหตุได้อย่างทันท่วงที



4. การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริต

หน่วยงานที่รับผิดชอบควรกำหนดกลไกลดความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริต ในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเด็นที่ปัญหาพึงคาดหมายได้ตั้งแต่เริ่มแรก เช่น
  • แนวทางการตรวจสอบรายได้และทรัพย์สินของผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด
  • การป้องกันการลงทะเบียนเป็นร้านค้าปลอม
  • การกำหนดประเภทและขนาดของร้านค้าเพื่อรองรับเงื่อนไขการใช้จ่าย
  • ประเภทสินค้าต้องห้ามและมาตรการป้องกันในการห้ามไม่ให้มีการซื้อสินค้าดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ
  • การตรวจสอบว่ามีการซื้อขายสินค้าจริง และป้องกันไม่ให้มีการขายลดสิทธิ์ (discount)
ด้วยเหตุผลและข้อสังเกตข้างต้น ธปท. จึงมีความเห็นว่า การพิจารณากรอบหลักการและ รายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่มีรายละเอียดการดำเนินการซับซ้อนใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาระการคลังของประเทศในระยะยาว และมีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริตในขั้นตอนต่าง ๆ ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง (Due Care) และมีกระบวนการที่ถูกต้องรัดกุม (Due Process) อย่างเต็มที่

ดังนั้น เพื่อให้การให้ความเห็นชอบในกรอบหลักการโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มีความรอบคอบครบถ้วน จึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนและนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้งจัดทำแนวทางหรือมาตรการแก้ไขประเด็นปัญหาหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรมด้วย ก่อนที่ครม. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบในกรอบหลักการของโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ต่อไป


https://www.thansettakij.com/business/economy/594299


เศรษฐกิจ "กบตุ๋นในหม้อปิดทับ" ทักษิโณมิกส์ก็ช่วยยาก ใบตองแห้ง สัมภาษณ์ อ.อภิชาติ


Atukkit Sawangsuk
7h·

มติชนทีวี คืนนี้
สัมภาษณ์ อ.อภิชาติ
สืบต่อจากที่ให้สัมภาษณ์ Way กบต้มกลายเป็นกบตุ๋น
ประชาชนเทคะแนนเสียงเลือกตั้ง หวังจะแก้ปัญหาโครงสร้าง “ทลายทุนผูกขาด” กลายเป็นถูกชนชั้นนำเอาก้อนหินทับฝาหม้อไว้
ทุนผูกขาด + สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
รัฐบาลเพื่อไทย ทักษิโณมิคส์ จะแก้ปัญหาได้หรือไม่


ประชาธิปไตยสองสี: ใบตองแห้ง EP4 "ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย" กบตุ๋นในหม้อปิดทับ ทักษิโณมิกส์ก็ช่วยยาก

matichon tv

Premiered 7 hours ago 

รายการ ประชาธิปไตยสองสี : อธิกกิต แสวงสุข (ใบตองแห้ง) EP4 สนทนา ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ประเด็นสภาพเศรษฐกิจ "กบตุ๋นในหม้อปิดทับ" ทักษิโณมิกส์ก็ช่วยยาก

https://www.youtube.com/watch?v=nMVJ1pyll8A


เหตุใด พ.อ. ชิต ตุ ผู้นำกระเหรี่ยง KNA กลับลำช่วยกองทัพเมียนมา คืนสู่ฐานที่มั่นในเมียดดี ? เจสัน ทาวเวอร์ ผอ.ฝ่ายเมียนมา จากสถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา มองว่า พ.อ.ชิต ตุ กำลังเล่นบทบาทเป็นผู้พิทักษ์อาณาจักรสแกมเมอร์ทุนจีนมูลค่าหลายพันล้านของกองกำลัง KNA (แล้วที่สู้มา เพื่อผลประโยชน์ตัวเอง และพรรคพวก??)


บีบีซีไทย - BBC Thai
18h
·
ล่าสุด พบว่ากองกำลังกะเหรี่ยงแห่งชาติหรือ KNA ของเขา ได้ช่วยคุ้มกันทหารเมียนมากลับมายังค่ายผาซองแล้ว โดยทางผู้นำ KNA บอกกับบีบีซีว่าต้องการหาหนทางที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนน้อยที่สุด
.
ด้านเจสัน ทาวเวอร์ ผอ.ฝ่ายเมียนมา จากสถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา มองว่า พ.อ.ชิต ตุ กำลังเล่นบทบาทเป็นผู้พิทักษ์อาณาจักรสแกมเมอร์ทุนจีนมูลค่าหลายพันล้านของกองกำลัง KNA ทำให้เขาเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญของสมรภูมิการสู้รบในเมียวดี
.
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อ่านต่อที่ https://bbc.in/3QiYvwN
.....

Paskorn Jumlongrach
21h ·

มือที่มองไม่เห็น
--------
อยากให้อ่านรายงานชิ้นหนึ่งของบางหน่วยงานทางการไทย ซึ่งเขียนไว้ดังนี้
“1. เมื่อ 23 เม.ย. 67 พ.อ.หม่องชิดตู่ เป็นตัวกลางประสานงาน ได้พูดคุยกับ พลเอกอาวุโส โซวิน ผบ.ทบ.เมียนมา และ กกล.ฯ กลุ่มต่อต้านฯ (กกล.ฯ KNLA) เพื่อหาทางออก ในการลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน โดยมีข้อสรุปและการดำเนินการ ดังนี้
1) ไม่ให้มีการสู้รบในพื้นที่ จ.เมียวดีฯ โดยกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของประชาชน สมม.
2) ทมม. ที่อยู่ในบริเวณสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา แห่งที่ 2 (ฝั่งเมียนมา) จะเคลื่อนย้ายกลับไปยังที่ตั้งหน่วย พัน.ร.275 ค่ายผาซอง โดย กกล.ฯ KNA ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ และวางกำลังดูแลความปลอดภัยบริเวณค่ายผาซอง เมื่อ 23 เม.ย. 67 เวลา 07.00
3) ให้ จนท. ซึ่งเคยปฏิบัติงานในสำนักงานสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา แห่งที่ 2 (ฝั่งเมียนมา) เช่น ศุลกากร, ตม. ฯลฯ กลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
4) คาดว่า การดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน 2 - 3 วัน
-------
ผมเกิดคำถามทันที
1.อะไรเป็นมูลเหตุหรือแรงจูงใจที่ทำให้ พ.อ.ชิตู กลับลำไปร่วมมือกับ SAC และพูดคุยกับ พล.อ.โซวิน นายทหารเบอร์ 2 ของ SAC โดยที่อ้างว่ากลัวกองทัพพม่าจะทิ้งระเบิดบ่อเงินบ่อทองทั้ง ชเวโก๊กโก่และเคเคปาร์ค แหล่งอาชญากรรมริมแม่น้ำเมยนั้น ดูจะไม่สมเหตุสมผลนัก เพราะถ้ากลัวก็น่าจะกลัวตั้งแต่ต้นก่อนที่ปฎิบัติการยึดเมียวดีจะเกิดขึ้น ทำไมถึงเพิ่งมากลัวเอาตอนนี้
ที่สำคัญคือการที่แหล่งอาชญากรรมระดับโลก ณ ริมแม่น้ำเมย ซึ่งยังประกอบธุรกิจสีดำและคุมขังทรมานเหยื่อจากทั่วโลกนับหมื่นคนไว้ได้ถึงทุกวันนี้โดยไม่กลัวสงครามการสู้รบใดๆ สาเหตุหนึ่งเนื่องจาก “ดิลลับ” ของเหล่าบิ๊กๆ ทั้งนายพลบางคนจากกองทัพพม่า นายตำรวจใหญ่และนักการเมืองจากฝั่งไทย บิ๊กในบางมลฑลของจีน รวมทั้งพวกเสือหิวอีกหลายคน โดยมี พ.อ.ชิตู เป็นผู้จัดการใหญ่คอยจัดสรรผลประโยชน์
แม้ที่ผ่านมาสื่อมวลชนทั่วโลกต่างขุดคุ้ยถึงความเลวร้ายของแหล่งอาชญากรรมเหล่านี้ แต่กิจกรรมของอาชญากรก็ยังดำเนินได้เป็นปกติ หากมีสัญญาณถึงความไม่แน่นอนของสงคราม พวกเขาก็หนีข้ามแม่น้ำเมยมาหลบภัยอยู่ฝั่งแม่สอดได้ตามอำเภอใจเพราะต่างก็มีหนังสือเดินทางเข้าไทยตั้งแต่เหยียบสนามบินสุวรรณภูมิจึงไม่เป็นปัญหาสำหรับการเข้าพักในโรงแรม
2.ถ้าสถานการณ์เป็นจริงตามรายงานข้างบน มิใช่ SAC เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ แต่ไทยเองก็ได้รับประโยชน์เนื้อในระยะสั้นเพราะขบวนรถขนส่งสินค้าสามารถข้ามไป-มาได้เป็นปกติ ซึ่งสอดรับกับคำสัมภาษณ์ของผู้บริหารประเทศไทยบางคนที่มุ่งเน้นผลประโยชน์จากการค้าขายจนละเลยเรื่องความมั่นคงของชาติ ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่างานนี้หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย หรือรัฐบาลไทยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในวงพูดคุยระหว่าง พ.อ.ชิตูและพล.อ.โซวินด้วยหรือไม่
สาเหตุหนึ่งที่ผมสงสัยเรื่องนี้ เพราะก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลไทยส่งต่อความช่วยเหลือไปยังชาวกะเหรี่ยงที่หนีภัยการสู้รบใน 3 หมู่บ้าน ปรากฏว่าหน่วยงานของกองทัพไทยได้ใช้บริการ BGF ที่เชื่อมประสานกับ KNU เพียงแต่พยายามปกปิดซ่อนเร้นเพื่อไม่ให้มีชื่อหน่วยงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปฎิบัติการครั้งนั้น อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าเพียงแค่ KNU ออกแถลงการณ์ท่าทีถึงปฎิบัติการส่งต่อความช่วยเหลือในครั้งนั้นและพาดพิงหน่วยงานของกองทัพไทย วันรุ่งขึ้นมือที่มองไม่เห็นยังสามารถลบข้อความในแถลงการณ์ของ KNUทิ้งได้
ที่ผมเป็นกังวลประเด็นนี้เพราะว่าแหล่งธุรกิจในอาชญากรรมริมแม่น้ำเมย ฝั่งเมียวดี เป็นสิ่งที่มวลมนุษย์ส่วนใหญ่ต่างแสดงความรังเกียจ เพราะมีทั้งขบวนการค้ามนุษย์ที่เหี้ยมโหด การต้มตุ๋นออนไลน์ที่สร้างความทุกข์ให้กับสังคมไทยและทั่วโลก และในบางอาคารยังเป็นโรงงานผลิตยาเสพติดด้วย สิ่งเหล่านี้มีหลักฐานมากมายโดยเฉพาะคำบอกเล่าจากเหยื่อจำนวนมากที่หนีรอดหรือได้รับการช่วยเหลือออกมาได้ โดย BGF นอกจากรับทรัพย์จากค่าเช่าที่ดินที่ตั้งของแหล่งอาชญากรรมเหล่านี้แล้ว ทหารBGF ยังทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้เหยื่อหนี และดูแลปกป้องกลุ่มจีนเทา รวมทั้งมีรายได้จากธุรกิจต่อเนื่องอีกหลายด้าน
ถ้าหากรัฐบาลไทยหรือหน่วยงานด้านความมั่นคงเลือกใช้บริการของ พ.อ.ชิตูและ BGF ก็ไม่แตกต่างจากการพึ่งพาอาชญากรหรือฆาตรกร โดยที่เราไม่สามารถตอบสังคมโลกได้เลย ยิ่งรัฐบาลไทยยังคงอ้ำๆอึ้งๆรีๆรอๆกับการจัดการแหล่งอาชญากรรมที่อยู่ติดระเบียงบ้าน ก็ยิ่งเป็นระเบิดเวลาที่จะทำให้ประเทศชาติพลอยรับเคราะห์ไปด้วย
หวังว่าปฎิบัติการของ พ.อ.ชิตูที่ตกลงกับ พล.อ.โซวินในครั้งนี้ รัฐบาลไทยหรือหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยจะไม่อยู่เบื้องหลังการดีลในครั้งนี้
---------

สั่งตรวจสอบ พ่อ-แม่ "น้องไนซ์ เชื่อมจิต" ฟันทันทีหากเข้าข่ายหลอกลวง

https://www.facebook.com/watch/?v=838166514791299&t=0
.....

24 เม.ย. 67
Amarin TV

‘พวงเพ็ชร มอบ สำนักพุทธ จับมือ พม.’ ตรวจสอบ พ่อ - แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที ไม่ตรงหลักคำสอนของพุทธศาสนา

วันนี้ (24 เมษายน 2567) นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนาตรวจสอบ น้องไนซ์ เด็กอายุ 8 ขวบที่อ้างตัวเป็นบุตรพระพุทธเจ้า สอนธรรมะด้วยการเชื่อมจิตที่ไม่มีอยู่ในคำสอน

โดยได้สั่งการไปยังนายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ลงพื้นที่บ้านพักของครอบครัวเด็กอายุ 8 ขวบ พร้อมกับนายกัณฐัศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ กัน จอมพลัง เพื่อตรวจสอบโดยด่วนแล้วว่าการกระทำของเด็กอายุ 8 ขวบ เป็นอย่างไรและมีความเหมาะสมหรือไม่

นางพวงเพ็ชร ระบุว่า ได้สั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาประสานงานกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมลงไปตรวจสอบโดยด่วน เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวน

ทั้งนี้จะต้องเข้าไปตรวจสอบกับผู้ปกครองด้วยว่ามีการป้อนข้อมูลที่ผิดให้กับลูกหรือไม่ เพราะลำพังเด็กที่มีอายุยังน้อยน่าจะยังไม่มีการนึกคิดไตร่ตรองอะไรได้มาก รวมถึงตรวจสอบว่ามีใครอยู่เบื้องหลังเพื่อหวังหาประโยชน์จากน้องไนซ์หรือไม่

“ส่วนตัวมองว่าการที่นำเรื่องพระพุทธเจ้ามาอ้างอิงเช่นนี้ ไม่ตรงกับหลักคำสอนของพุทธศาสนา อีกทั้งทำให้ประชาชนหลงเชื่อ
ดังนั้นจึงให้สำนักพุทธฯ ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ และหากมีประเด็นใดที่เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน จะดำเนินการตามกฎหมายหรือมีพระภิกษุสามเณรรูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องให้ดำเนินทันทีโดยไม่มีการละเว้น ขณะเดียวกันขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณก่อนรับฟังคำสอนดังกล่าวด้วย” นางพวงเพ็ชร กล่าว

(https://www.amarintv.com/news/detail/215443)


Problem with believers


John Massetti
4d·

Christians have been waiting for Jesus for 2000 years.
Muslims have been waiting for a messiah from the line of Muhammad for 1300 years.
Hindus have been waiting for Cali for 3700 years.
Buddhists have been waiting for Maitreya for 2600 years.
Jews have been waiting for the Messiah for 2500 years.
Sunnah has been waiting for Prophet Issa for 1400 years.
Shiite Muslims have been waiting for Imam Mahdi for 1080 years.
Druzers are waiting for Hamza ibn Ali for 1000 years.
Most religions adopt the idea of a “savior” and say the world will remain filled with evil until that Savior comes and fills it with goodness and righteousness.
Maybe the problem with believers on this planet is that they expect someone else to come and solve their problems instead of doing it themselves.


ใครที่พูดว่าอากาศร้อน 40 องศาเซลเซียส เป็นเหมือนสวรรค์ คนพูดเคยฟังเพลง Wish you were here ของ Pink Floyd ยัง ที่ว่า So, so you think you can tell heaven from hell? คนจนคือคนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความร้อนเมืองไทย ไม่ใช่สวรรค์สำหรับคนจน


ภาวะโลกเดือด: ทำไมคนจนได้รับผลกระทบในหน้าร้อนนี้มากที่สุด - BBC News ไทย

BBC News ไทย

Apr 6, 2024

ผู้ทำงานอาชีพรับจ้างทั่วไปและเก็บของเก่า ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนพูนทรัพย์ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร บอกกับบีบีซีไทยว่า อากาศที่ร้อนมากขึ้นกำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และทำให้พวกเขาต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เนื่องจากใช้ไฟและน้ำมากขึ้น ทั้งที่รายได้เท่าเดิม 

ด้านนักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า คนจนและกลุ่มเปราะบางคือคนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตนี้ยังทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมเพิ่มมากขึ้นด้วย 

อ่านเรื่องราวทั้งหมด (https://bbc.in/4aLNOuH)

https://www.youtube.com/watch?v=22atdfRJUu8
.....

Atukkit Sawangsuk
16h ·

วันก่อนคุยกับแท็กซี่ กะกลางคืน
นอนกลางวัน รับรถสี่โมงเย็น ส่งรถตีสี่
เขาบอกว่า เปิดพัดลมสองตัว ยังเอาไม่อยู่
คนจนเมืองอีกเยอะเลย ที่ต้องทำงานกลางคืน
นอนกลางวัน อุณหภูมิสวรรค์ 40 องศา
.....

Voravuj Sujjaporamest
15h·

เมื่อใครสักคนพูดว่าอากาศร้อน 40 องศาเซลเซียส เป็นเหมือนสวรรค์ ก็ทำให้นึกถึงเนื้อเพลงของ Wish you were here (อยากให้มึงมาอยู่ที่นี่กับกูจริงๆ) ของ Pink Floyd ที่ว่า
So, so you think you can tell heaven from hell?
"ตกลงมึงคงคิดว่าตัวมึงเองแยกออกได้สินะว่าอะไรคือสวรรค์ อะไรคือนรก?"

.....



Pink Floyd - Wish You Were Here (PULSE Restored & Re-Edited)


ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งว่า ถ้าล็อคไว้มันจะอิรุงตุงนัง เช่นถ้าสสร.อยากเปลี่ยนเป็นสภาเดี่ยวไม่มีสว. ก็จะไปติดบางส่วนในหมวด1, 2 คลิปสัมนี้ชัดเจนและฟังเข้าใจง่าย



 

คลิปลิงค์ (https://twitter.com/Sunday894/status/1783094978027389187)
.....

พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
13h·

พรรคก้าวไกลยืนยันมาตลอดว่าเราสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้จริงโดยเร็วที่สุด
.
หลังจากการประชุม ครม. เมื่อวานนี้ (23 เม.ย.) รัฐบาลได้แถลงเห็นชอบในหลักการให้เริ่มต้นเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามเส้นทาง “ประชามติ 3 ครั้ง” (ตามข้อเสนอของคณะกรรมการศึกษาฯ ที่ตั้งโดยรัฐบาลและนำโดยภูมิธรรม เวชยชัย) โดยให้มีการจัดประชามติครั้งที่ 1 ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ด้วยคำถามที่ว่า:
.
“ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 (บททั่วไป) และ หมวด 2 (พระมหากษัตริย์)?”
.
ในขณะที่เรารอการเผยแพร่มติ ครม. สู่สาธารณะ และรอการออกประกาศฯในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ พรรคก้าวไกลขอย้ำอีกรอบให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนเรื่อง “คำถามประชามติ” ดังกล่าว ซึ่งเรามองว่าเป็นคำถามประชามติที่มีปัญหาและเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สะดุดลงและไม่ประสบความสำเร็จ
.
#1 คำถามประชามติของรัฐบาล เพิ่มความเสี่ยงที่ประชามติครั้งแรกจะไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน เนื่องจากเป็นคำถามที่มีการ “ยัดไส้” เงื่อนไขหรือรายละเอียดปลีกย่อยในตัวคำถาม
.
การบรรจุเงื่อนไขหรือรายละเอียดเรื่องหมวด 1-2 ในตัวคำถาม จะทำให้ประชาชนบางคนที่เห็นด้วยกับบางส่วนของคำถาม แต่ไม่เห็นด้วยกับอีกบางส่วนของคำถาม (เช่น เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่เห็นด้วยกับการล็อกหมวด 1-2) อาจไม่แน่ใจว่าจะลงมติเช่นไร
.
หากประชาชนแต่ละคนที่มีจุดยืนดังกล่าวตัดสินใจลงคะแนนไม่เหมือนกัน (เช่น บางคนลงคะแนน “เห็นชอบ” / บางคนลงคะแนน “ไม่เห็นชอบ” / บางคน “งดออกเสียง”) ก็จะหมายความว่าในบรรดาคนที่อยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ใช่ทุกคนที่จะลงคะแนน “เห็นชอบ” เหมือนกันอย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่ประชามติจะไม่ผ่าน (ยิ่งหากการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ เรื่องเกณฑ์ “เสียงเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ทันประชามติครั้งแรก)
.
หากประชามติไม่ผ่านเพราะเหตุผลดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สะดุดลง แต่ยังจะก่อปัญหาในการตีความต่อไปในอนาคต ว่าเหตุผลที่ประชามติไม่ผ่านเป็นเพราะอะไร (เช่น เป็นเพราะประชาชนไม่อยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือ เป็นเพราะประชาชนไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขเรื่องการล็อกหมวด 1-2)
.
#2 คำถามประชามติของรัฐบาล เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประสบปัญหาเชิงกฎหมาย
.
เนื้อหาของรัฐธรรมนูญแต่ละหมวดมีความสัมพันธ์กันโดยธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ตั้งแต่หมวด 3 เป็นต้นไป) การแก้ไขข้อความหรือเนื้อหาใด ๆ ในหมวด 3 เป็นต้นไป อาจนำไปสู่ความจำเป็นทางกฎหมายที่จะต้องแก้ไขบางข้อความหรือเนื้อหาในหมวด 1-2 ให้สอดคล้องกันกับหมวดอื่นๆ
.
ตัวอย่าง: หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการยกเลิกวุฒิสภาและหันมาใช้ระบบสภาเดี่ยว ก็ควรมีการตัดคำว่า “วุฒิสภา” หรือ “สมาชิกวุฒิสภา” ที่ปรากฎในหมวด 1-2 ออก (เช่น ในมาตรา 12 ที่กำหนดว่าองคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา) เนื่องจากไม่มีสิ่งที่เรียกว่าวุฒิสภาแล้ว
.
แต่หากหมวด 1-2 ถูกล็อกไว้ การแก้ไขข้อความดังกล่าวจะทำไม่ได้และอาจนำไปสู่ปัญหาเชิงกฎหมาย
.
#3 คำถามประชามติของรัฐบาล เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่สามารถแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างได้และไม่สะท้อนฉันทามติใหม่ของประชาชนทุกคนในสังคมได้อย่างแท้จริง
.
เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐธรรมนูญ คือการออกแบบกติกาการเมืองที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายท่ามกลางความเห็นที่แตกต่าง
.
ที่ผ่านมา การแก้ไขเนื้อหาในหมวด 1-2 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยปกติ ทุกครั้งที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (รวมถึงตอนจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 / 2550 / 2560) ยิ่งไปกว่านั้น มาตรา 255 ของรัฐธรรมนูญได้ห้ามไว้ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ให้มีการการแก้ไขเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ (ไม่ว่าในหมวดใด) ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหรือรูปแบบรัฐ
.
ดังนั้น หากประชาชนบางกลุ่มอยากปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนในหมวด 1-2 โดยที่การแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นการกระทบรูปแบบการปกครองหรือรูปแบบรัฐ การไปล็อกไม่ให้เขาแม้กระทั่งได้เสนอความเห็นของเขาด้วยเหตุและผลอย่างมีวุฒิภาวะในพื้นที่ที่ควรปลอดภัยอย่าง สสร. (แม้ในที่สุด สสร. ส่วนใหญ่อาจจะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของเขา) อาจทำให้การแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างทางการเมืองในบริบทปัจจุบันมีความท้าทายมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่ถูกมองว่าสะท้อนฉันทามติใหม่ของประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง
.
.
ข้อกังวลทั้งหมดที่พรรคก้าวไกลมีต่อคำถามประชามตินี้ เป็นข้อกังวลที่เราได้พยายามสะท้อนต่อรัฐบาลและต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
.
ในเมื่อการทำประชามติแต่ละครั้งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท และต้องอาศัยเวลาอย่างน้อย 3-4 เดือน เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะออกแบบคำถามประชามติที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สะดุดลงโดยไม่จำเป็น
.
เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว พรรคก้าวไกลจึงขอเสนออีกครั้งก่อนที่จะสายเกินไป ให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนและหันมาใช้คำถามหลักของประชามติครั้งแรกที่เปิดกว้าง (เช่น “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่?”) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเลือกคำถามประชามติที่ทางคณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นฯ ของรัฐบาลเอง (นำโดย นิกร จำนง) เคยได้เสนอให้คณะกรรมการศึกษาฯ ของรัฐบาลพิจารณา เพื่อเพิ่มโอกาสที่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยจะประสบความสำเร็จ






@thestandardth #ชัยธวัชตุลาธน หัวหน้าพรรค #ก้าวไกล ขอให้รัฐบาลทบทวนคำถามประชามติใหม่ ไม่ควรใส่เงื่อนไขล็อกรัฐธรรมนูญบางหมวด ##ประชามติ#ข่าวtiktok #NewsMoments #THESTANDARD ♬ original sound - THE STANDARD


 

ขอถามอย่างโง่ ๆ เมื่อไม่แก้ หมวด 1, 2 รัฐบาลจะแก้หมวดไหนก่อน ?


https://www.tiktok.com/@workpointnews23/video/7361014100786302224?is_from_webapp=1&sender_device=pc&web_id=7361522349018023467




กรณีคำถามประชามติครั้งแรกแก้รัฐธรรมนูญ ล็อกไม่แก้หมวด 1, 2 ที่ผ่านความเห็นชอบของ ครม. วานนี้ (23 เม.ย. 67) ในส่วน #พรรคก้าวไกล โดย “พริษฐ์ วัชรสินธุ” สส. และโฆษกฯ มองว่าอาจทำให้ประชามติไม่ผ่าน นำไปสู่ปัญหาการตีความแก้รัฐธรรมนูญในอนาคต


ปฏิกิริยา “ก้าวไกล” ประชามติแก้รัฐธรรมนูญครั้งแรกอาจไม่ผ่าน ? | มุมการเมือง | 24 เม.ย. 67

Thai PBS

Apr 23, 2024 



 


Te Neti
Yesterday ·

คำถามกำกวมมากครับ ถ้าตอบไม่เห็นชอบนี่จะหมายความว่าอะไรครับ 1. ไม่เห็นชอบที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2. ไม่เห็นชอบที่จะแก้รัฐธรรมนูญ โดยไม่ให้แก้ไขหมวด ๅ และหมวด 2
แถมถ้าประชามติแรกไม่ผ่าน ก็จะไม่มีประชามติต่อไป
แบบนี้เป็นการมัดมือชกประชาชนใช่หรือไม่ว่า ถ้าประชาชนไม่เห็นชอบที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่แก้หมวด 1 หมวด 2 พวกมึงก็ไม่ต้องแก้เลย

✊🏽แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ คำถามประชามติตั้งแง่ “บังคับ” ประชาชนชนสถาบันฯ

https://www.facebook.com/watch/?v=1170284844128886&t=0

iLaw was live.
13h ·

24 เมษายน 2567 กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ #conforall แถลงกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ใจความสำคัญว่า รัฐบาลจะใช้คำถามประชามติครั้งแรกว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”
.
คำถามประชามติเช่นนี้สร้างความกังวลถึงอนาคตของการมีรัฐธรรมนูญใหม่ จนอาจจะทำให้ผลการออกเสียงประชามติไม่สามารถสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชน เนื่องจากจะมีเสียง “ไม่เห็นชอบ” จำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญ 2560 แต่เป็นเพราะพวกเขาต้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่มีเนื้อหาใดถูกงดเว้นไว้ไม่ให้แตะต้อง
.
การเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรมีความชอบธรรม ไม่ปิดกั้น และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ตั้งคำถามประชามติที่มีสองประเด็นซ้อนกันในคำถามเดียวหรือตั้งคำถามที่จะทำให้สถาบันกษัตริย์ถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยเช่นกัน
.....
iLaw
11h ·

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญคำถามประชามติตั้งแง่ “บังคับ” ประชาชนชนสถาบันฯ
หลังจากวันที่ 23 เมษายน 2567 รัฐบาลมีมติให้ทำประชามติเพื่อไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งวางแผนจะทำประชามติ 3 ครั้ง และในครั้งแรกจะจัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2567 โดยใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” พวกเราเครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ มีความเห็นส่วนหนึ่งคือ
“คําถามประชามติที่มีตั้งเงื่อนไขในหมวดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกนํามาใช้เป็นเงื่อนไขในการจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับพระราชอำนาจในระหว่างการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่พวกเราเป็นเคยเสนอคำถามประชามติให้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ “ทั้งฉบับ” โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด โดยประชาชนมากกว่า 200,000 คน ลงชื่อเพื่อสนับสนุนการเสนอคำถามนี้ เมื่อรัฐบาลไม่รับคำถามของเราและตั้งคำถามที่มีหลักการแตกต่างจากคำถามของเราอย่างชัดเจน เราจึงไม่สามารถที่จะลงประชามติ “เห็นชอบ” หรือ Vote YES กับคำถามที่รัฐบาลตั้งขึ้นได้ เราไม่สามารถ “รับๆ ไปก่อน” และซ้ำรอยบทเรียนในอดีตได้อีกแล้ว“
อ่านทั้งหมด : (https://www.ilaw.or.th/articles/30081)
.....

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญคำถามประชามติตั้งแง่ “บังคับ” ประชาชนชนสถาบันฯ


เมษายน 24, 2024
iLaw

หลังจากวันที่ 23 เมษายน 2567 รัฐบาลมีมติให้ทำประชามติเพื่อไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งวางแผนจะทำประชามติ 3 ครั้ง และในครั้งแรกจะจัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2567 โดยใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” พวกเราเครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ มีความเห็นดังนี้

1. รัฐบาลกำลัง ‘พายเรืออยู่ในอ่าง‘ หลังจากเสียเวลาไปกว่า 200 วัน ตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และก็กลับมาเริ่มต้นที่จุดเดิม ทั้งที่พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงภาคประชาชน ต่างก็เคยเสนอแนวคำถามไว้แล้ว ถ้ารัฐบาลยืนยันจะทำประชามติสามครั้ง ก็สามารถเปิดบทสนทนาพูดคุยเรื่อง “คำถาม” ได้โดยตรง ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้เราใช้สิทธิตามพ.ร.บ.ประชามติเข้าชื่อประชาชนกว่า 200,000 คน เพื่อเสนอคำถาม รัฐบาลก็ไม่หยิบขึ้นมาพิจารณา ไม่แม้แต่แยแสคำถามที่ประชาชนต้องลงแรง ลงชื่อบนกระดาษ ถ่ายเอกสาร แปลงข้อมูลจากกระดาษมาเป็นไฟล์ดิจิทัล แม้เราเคยยื่นหนังสือเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อปรึกษาเรื่องคำถามประชามติรัฐบาล ก็ไม่เคยได้รับการนัดหมายให้เข้าพบ



สิ่งที่หายไปจากจุดยืนของรัฐบาลในวันนี้ ทั้งที่เป็นหนึ่งในหัวใจของการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ คือ ที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งเมื่อย้อนดูจากร่างรัฐธรรมนูญที่เคยถูกเสนอโดยพรรคเพื่อไทยเมื่อปี 2563 และ 2566 ก็ระบุอย่างชัดเจนให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่แนวทางที่รัฐบาลนำเสนอในวันนี้กลับมองข้ามประเด็นดังกล่าว โดยไม่มีคำอธิบาย

2.คําถามประชามติที่รัฐบาลประกาศนั้น มีปัญหาอย่างน้อย 3 ประการ

2.1 คําถามนี้มี 2 ประเด็น ที่ซ้อนกันในคำถามเดียว คือ เห็นด้วยหรือไม่ กับการจัดทํารัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และเห็นด้วยหรือไม่ กับการคงเนื้อหาหมวด 1 และหมวด 2 ทำให้ประชาชนเผชิญกับ “สภาวะไร้ทางเลือก” ในการจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากต้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับก็ไม่มีทางเลือกว่าจะออกเสียงในการทำประชามติอย่างไร

2.2 เนื้อหาของรัฐธรรมนูญปี 2560 ในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ที่ถูกแก้ไขหลังการจัดทําประชามติเมื่อปี 2559 ยังคงอยู่ คําถามประชามตินี้จะ “ไม่ทําให้เกิดการจัดทํารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ” และทำให้ประชาชนไม่ได้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

2.3 คําถามประชามติที่มีตั้งเงื่อนไขในหมวดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกนํามาใช้เป็นเงื่อนไขในการจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับพระราชอำนาจในระหว่างการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ

ในฐานะที่พวกเราเป็นเคยเสนอคำถามประชามติให้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ “ทั้งฉบับ” โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด โดยประชาชนมากกว่า 200,000 คน ลงชื่อเพื่อสนับสนุนการเสนอคำถามนี้ เมื่อรัฐบาลไม่รับคำถามของเราและตั้งคำถามที่มีหลักการแตกต่างจากคำถามของเราอย่างชัดเจน เราจึงไม่สามารถที่จะลงประชามติ “เห็นชอบ” หรือ Vote YES กับคำถามที่รัฐบาลตั้งขึ้นได้ เราไม่สามารถ “รับๆ ไปก่อน” และซ้ำรอยบทเรียนในอดีตได้อีกแล้ว

3. พวกเราคาดหมายได้ว่า อาจมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไปลงคะแนนไม่เห็นด้วยกับคำถามประชามติที่รัฐบาลตั้ง พวกเราให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าจะมีคนกาช่อง “ไม่เห็นชอบ” หรือ Vote NO มากน้อยเพียงใด ก็ไม่ได้หมายความว่านั่นคือเสียงที่ต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญ 2560 หากแต่เสียง Vote NO ยังเป็นเสียงของประชาชนที่ต้องการจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ “ทั้งฉบับ” โดยไม่มีเนื้อหาของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถูกงดเว้นไม่ให้แตะต้อง

ถึงวันนี้คงเหลือโอกาสน้อยที่จะหลีกเลี่ยงการทำประชามติด้วยคำถามที่รัฐบาลตั้งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม พวกเรามีความเห็นว่า ประชามติที่ถามสองประเด็นพร้อมกันนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่เพียงจำกัดในประเด็นของรัฐธรรมนูญ 2560 แต่ประชามติครั้งนี้ยังเป็นการถามประชาชนด้วยว่า มีประชาชนจำนวนมากน้อยเพียงใดที่ “ไม่เห็นชอบ” กับเงื่อนไขที่ “ติดล็อก” แต่ต้องการแก้ไขพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ

4.เราพยายามเตือนรัฐบาลมาตลอดว่า การตั้งคำถามแบบใด ‘เสี่ยงที่จะไม่ผ่าน’ แต่รัฐบาลก็ยังดึงดันที่จะใช้คำถามสร้างเงื่อนไข สร้างความขัดแย้ง และมากไปกว่านั้นสร้างการถกเถียงให้กับหมวด1 บททั่วไป และหมวด2 พระมหากษัตริย์ โดยไม่จำเป็น รัฐบาลได้จุดไฟให้สังคมเกิดคำถามว่า “หมวด 1 และหมวด 2” คืออะไร มีปัญหาอย่างไร ทำไมถึงต้องห้ามแก้ไข และกำลังใช้ประเด็นนี้มาเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ดังนั้นคำถามที่ “ล็อคเงื่อนไข” เช่นนี้ จึงเป็นคำถามของรัฐบาล โดยรัฐบาล เพื่อรัฐบาล

เมื่อรัฐบาลเป็นเจ้าของคำถามนี้ จึงต้องเป็นเจ้าของผลลัพธ์ที่ตามมาด้วย หากผลลัพธ์จากการทำประชามติครั้งนี้ทำให้การเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนต้องหยุดชะงัก ก็คือความพ่ายแพ้ของรัฐบาลที่ไม่สามารถทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้ รัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เพราะถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกต่อไป

5.เราขอยืนยันว่า พวกเราต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากประชาชน พวกเราไม่ต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับของคสช. ต่อไป โดยกระบวนการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จำเป็นต้องมีความชอบธรรม เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่ต้นจนจบ หากมีเงื่อนไขปิดกั้นตั้งแต่ต้นก็สุ่มเสี่ยงที่กระบวนการข้างหน้าจะมีเงื่อนไขตลอดเส้นทางและทำให้กลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับของผู้มีอำนาจในยุคสมัยนั้นๆ

ไม่ว่าผลการทำประชามติครั้งแรกจะเป็นอย่างไร หรือการทำประชามติครั้งแรกจะเกิดขึ้นหรือไม่ เส้นทางของการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ “ทั้งฉบับ” โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้นยังเดินหน้าได้ โดยองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ คือ วุฒิสภา หรือสว. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากรัฐสภาซึ่งรวมถึง สว. อย่างน้อยหนึ่งในสามหรือ 67 จาก 200 คน ดังนั้น ในการเลือกสว. ที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2567 หากประชาชนร่วมกันลงสมัคร สว. เพื่อส่งผู้สมัครที่เชื่อในหลักการประชาธิปไตยเข้าสู่สภา “เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” ก็จะได้รับแรงส่งสนับสนุนจาก สว. ชุดใหม่เหล่านั้นให้เดินหน้าไปได้

(https://www.ilaw.or.th/articles/30081)


กลุ่ม “เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ” แสดงความผิดหวังต่อรัฐบาล โดยประกาศ “ไม่สามารถที่จะลงประชามติ ‘เห็นชอบ’ หรือ Vote YES กับคำถามประชามติที่รัฐบาลตั้งขึ้นได้”


บีบีซีไทย - BBC Thai
10h·

กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ” หรือ Con for All แสดงความผิดหวังต่อรัฐบาล โดยประกาศ “ไม่สามารถที่จะลงประชามติ ‘เห็นชอบ’ หรือ Vote YES กับคำถามประชามติที่รัฐบาลตั้งขึ้นได้”
.
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบจัดให้มีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง เพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยที่การทำประชามติยกแรกจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. นี้ ซึ่งโฆษกรัฐบาลเรียกว่าเป็นการ “คิกออฟ” กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
.
คำถามที่รัฐบาลจะใช้สอบถามประชาชนคือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”
.
สำหรับสาระสำคัญของแถลงการณ์ Con for All สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
.
1. วิจารณ์รัฐบาลว่า “กำลังพายเรืออยู่ในอ่าง” หลังเสียเวลาไปกว่า 200 วัน ตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วก็กลับมาเริ่มต้นที่จุดเดิม โดยไม่มีการนำคำถามประชามติที่ประชาชนกว่า 2 แสนคนร่วมกันเข้าชื่อกันเสนอ โดยใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ประชามติ มาพิจารณา “ไม่แม้แต่แยแสคำถามที่ประชาชนต้องลงแรง” นอกจากนี้ในคำถามประชามติครั้งแรก ไม่มีการระบุถึงที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
.
2. ชี้ให้เห็น 3 ปัญหาของคําถามประชามติที่รัฐบาลประกาศไว้ ได้แก่
- ตั้งคำถามซ้อนกันในคำถามเดียว ทำให้ประชาชนเผชิญกับ “สภาวะไร้ทางเลือก” หากต้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ก็ไม่มีทางเลือกว่าจะออกเสียงประชามติอย่างไร
- การล็อกหมวด 1 และหมวด 2 ไม่ทําให้เกิดการจัดทํารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และทำให้ประชาชนไม่ได้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
- คําถามประชามติที่ตั้งเงื่อนไขในหมวดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ “จะทำให้สถาบันฯ ถูกนํามาใช้เป็นเงื่อนไขในการจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับพระราชอำนาจในระหว่างการทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ”
.
ย้อนไปเมื่อเดือน ส.ค. 2566 กลุ่ม Con for All ได้ออกมารณรงค์ล่ารายชื่อประชาชนเพื่อร่วมกันเสนอคำถามประชามติต่อรัฐบาล โดยใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่ารัฐสภาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” โดยมีประชาชนกว่า 2 แสนคนร่วมลงลายมือชื่อ
.
เมื่อรัฐบาลไม่รับคำถามของพวกเขา และตั้งคำถามที่มีหลักการแตกต่างจากคำถามของประชาชนอย่างชัดเจน จึงมีคำประกาศว่า “ไม่สามารถที่จะลงประชามติ ‘เห็นชอบ’ หรือ Vote YES กับคำถามที่รัฐบาลตั้งขึ้นได้ เราไม่สามารถ ‘รับ ๆ ไปก่อน’ และซ้ำรอยบทเรียนในอดีตได้อีกแล้ว”
.
3. ชิงดักคอ โดยคาดว่าจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยไปลงคะแนน “ไม่เห็นชอบ” หรือ Vote NO ซึ่งไม่ได้หมายความว่านั่นคือเสียงที่ต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญ 2560 “หากแต่เสียง Vote NO ยังเป็นเสียงของประชาชนที่ต้องการจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ‘ทั้งฉบับ’ โดยไม่มีเนื้อหาของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถูกงดเว้นไม่ให้แตะต้อง”
.
4. เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญระบุด้วยว่า รัฐบาลดึงดันที่จะใช้คำถามสร้างเงื่อนไข สร้างความขัดแย้ง และสร้างการถกเถียงให้กับหมวด 1 และหมวด 2 โดยไม่จำเป็น รัฐบาลได้จุดไฟให้สังคมเกิดคำถามว่าหมวด 1 และหมวด 2 คืออะไร มีปัญหาอย่างไร ทำไมถึงต้องห้ามแก้ไข และกำลังใช้ประเด็นนี้มาเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่
.
“เมื่อรัฐบาลเป็นเจ้าของคำถามนี้ จึงต้องเป็นเจ้าของผลลัพธ์ที่ตามมาด้วย หากผลลัพธ์จากการทำประชามติครั้งนี้ทำให้การเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนต้องหยุดชะงัก ก็คือความพ่ายแพ้ของรัฐบาลที่ไม่สามารถทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้ รัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เพราะถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกต่อไป” แถลงการณ์ระบุตอนหนึ่ง
.
อย่างไรก็ตามเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มนี้ยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะรณรงค์ให้ประชาชนไป “Vote NO” (ไม่เห็นชอบ)” หรือ “No Vote” (ไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง) โดยย้ำเพียงว่า “เราไม่สามารถโหวตเยสได้แน่ ๆ ถ้าโหวตเยสแปลว่ากลืนเลือด กัดลิ้นตัวเอง” สำหรับสาเหตุที่ยังบอกไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขว่าจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติหรือไม่และแก้อย่างไร และจำเป็นต้องใช้เวลาปรึกษาหารือกับเครือข่าย
.
“ขออภัยพี่น้องประชาชนที่คาดหวังว่าเราจะตอบว่าเราจะโหวตอะไร เราถกเถียงกันทั้งคืน แล้วเราตอบว่าเราไม่โหวตเยส” นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการไอลอว์ กล่าว
.
ดูมติ ครม. “คิกออฟ” แก้รัฐธรรมนูญ ที่นี่
https://bbc.in/3QiInvc
.....
https://www.facebook.com/photo?fbid=860762019417297&set=a.627743042719197


ชุมนุมหนุนปาเลสไตน์ผุดตาม ม.ดัง สหรัฐฯ ผู้ชุมนุมสนับสนุนปาเลสไตน์ 🇵🇸 🇺🇸 กระจายตัวชุมนุมในสถานอุดมศึกษาชื่อดังในสหรัฐฯ - US university torn apart by Gaza-Israel conflict


US university torn apart by Gaza-Israel conflict| Unreported World

Unreported World

Apr 21, 2024

Unreported World meets the students divided by the conflict in Gaza who are fighting for their voices to be heard on campus.
 
Across universities in the United States a battle is raging over freedom of speech. At Columbia University two pro-Palestinian groups have been banned for holding unauthorised protests about Gaza, a move members say is about shutting down any criticism of Israel.
 
Amidst allegations of intimidation, antisemitism and Islamophobia, reporter Kiran Moodley follows a Palestinian student and Jewish-American student to see if he can find common ground.

https://www.youtube.com/watch?v=gBCtFYnXUDU


วันพุธ, เมษายน 24, 2567

‘ชลน่าน’ ตัดพ้อกับข้าราชการทางการแพทย์ด้วยความน้อยใจ กับปฏิบัติการ ‘เสร็จนาฆ่าโคถึก’ ตัวเองออกรับแทนพรรคทุกอย่างช่วงเลือกตั้ง

คนหนึ่งที่น่าจะชีช้ำกับปฏิบัติการ เสร็จนาฆ่าโคถึก ในกระบวนการ ข้ามขั้ว-ตระบัดสัตย์ ของพรรคเพื่อไทย ในห้วงนี้ที่มี แพทองธาร ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค และ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ ก็คือ ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตหัวหน้าพรรค

หลังจากที่เขาเป็น รมว.สาธารณสุขได้เพียง ๗ เดือน ก็มีข่าวว่าจะถูกปรับออก ให้ไปเป็นหัวหอกของพรรคในสภา เพียงแต่ติดอยู่นิดที่ประธานสภาคนปัจจุบันจากพรรคร่วม ประกาศชัดจะไม่ไปไหน ไม่หลีกทางให้เด็ดขาด

แถม วัน มูฮัมหมัด นอร์มัดทา บอกด้วยว่าครั้งหน้าจะเป็นรัฐบาลอีก ด้วยจำนวน ส.ส.ไม่น้อยกว่า ๑๕ เสียง ฉะนั้นถ้าว่าตามที่กูรูบางคนคาดหมาย เพื่อไทยจะเป็นพรรคอันดับสองหลังเลือกตั้งครั้งหน้า ก็ต้องรับข้อเรียกร้องของประชาชาติ ๓ ตำแหน่งรัฐมนตรี

อย่างไรก็ดีหากชลน่านยังไม่ไปไหน ก็อาจได้เป็นประธานสภาในที่สุด รัฐบาลหน้า ถ้าพรรคก้าวไกลไม่กวาด ๒๕๐ ที่นั่ง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ดังคุย ทว่าขณะนี้ดูเหมือนชลน่านจะหมองหมางอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ดังที่เขาคุยกับข้าราชการแพทย์เมื่อวันก่อน

@SleeplessBKK ตัดคลิปมาแปะบน เอ็กซ์พร้อมบอกว่าเป็น “จังหวะที่ชลน่านตัดพ้อกับข้าราชการทางการแพทย์ด้วยความน้อยใจที่ตัวเองออกรับแทนพรรคทุกอย่างช่วงเลือกตั้ง ยอมทนโดนประชาชนก่นด่า ยอมโดนเหยียบหน้า” เพื่อพรรคมา

“แต่สุดท้าย กำลังจะโดนนายเซลส์แมนปลดออก...ด้วยข้ออ้างว่าชลน่าน “เอาข้าราชการไม่อยู่ แม้นว่าเจ้าตัวอ้าง เขาเองไม่นั่นนี่กับเหตุที่เกิด “เพราะผมผ่านร้อนผ่านหนาวมามากพอ” ก็ตาม

เหตุการณ์หนึ่งที่ชลน่านอ้างถึงเรื่องโดนด่าแทนพรรค ก็ตอนเขาต้องออกมารับรายชื่อประชาชนกว่า ๒ แสน ในนาม #conforall เรียกร้องเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มี สสร.เป็นผู้ร่างใหม่ทั้งฉบับ โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

วันนี้กระบวนการตระบัดสัตย์เข้ามาอีกขั้น เมื่อคณะกรรมการศึกษาฯ อันมี ภูมิธรรม เวชยชัย เป็นผู้กำกับการ แถลงผลสรุปตามธงเดิม ให้ทำประชามติ ๓ ครั้ง (แทนที่จะเป็น ๒ ครั้ง) โดยไม่มีการพิจารณาข้อเสนอของกลุ่มรณรงค์

โดยเฉพาะประชามติครั้งแรก ถามเพียงว่าต้องการแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่แตะหมวด ๑ และ ๒ (เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์) หรือไม่ เท่านั้น ผ่านไม่ผ่านอย่างไร ข้อเรียกร้องของภาคประชาชนให้ร่างใหม่ทั้งฉบับ ก็กลายเป็นหมันไปแล้ว

(https://twitter.com/Piyabutr_FWP/status/1783002935334732267, https://twitter.com/chamnanxyz/status/1782947823383982348 และ https://twitter.com/SleeplessBKK/status/1782750304733364604)